อ่านแล้วรวย19

หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ

หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ

โซเชียลแห่แชร์ภาพก้อนเมฆรูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะคล้ายกับคลื่นยักษ์สึนามิ ชาวเน็ตแห่ชมทั้งแปลกตาทั้งขนลุก

กลายเป็นภาพไวรัลขึ้นมาทันทีเมื่อผู้ใช้ เฟซบุ๊ก Su Per Armer ได้โพสต์ภาพเมฆประหลาดลงในกลุ่ม คนรักมวลเมฆ พร้อมข้อความ ว่า สุดยอดไปเลยไปวันนี้ โดยเป็นภาพลักษณะก้อนเมฆคล้ายกับคลื่นทะเล สำหรับพิกัดบริเวณหน้าบิ๊กซี จ.ศรีสะเกษ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา


โดยมีชาวเน็ตมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางคอมเมนท์ก็ว่ามวลเมฆดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลื่นสึนามิ หรือลักษณะคลื่นขนาดใหญ่ บ้างก็ว่าเหมือนเทือกเขาเนปาลโดยหลายความคิดเห็นแสดงถึงมวลเมฆก้อนนี้ มีลักษณะที่สวยงาม และมีความน่ากลัวไปพร้อมๆ กัน
สำหรับดังกล่าวคือเมฆอาร์คัส เกิดจากอะไร เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์เมฆลอยต่ำ และท้องฟ้ามืดเหมือนยามค่ำคืนเมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา”เมฆอาร์คัส” หรือ เมฆกันชน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

“เมฆอาร์คัส” (Arcus Cloud) เป็นปฏิกิริยาหนึ่งของ เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) ซึ่งเป็น เมฆชั้นต่ำที่ก่อตัวในแนวระนาบ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

Shelf Cloud เป็น เมฆ ชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) ซึ่งจะก่อตัวในแนวระนาบ ลักษณะเป็นลิ่มยื่นออกมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) โดยที่อากาศเย็น จะไหลลงมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง และแผ่กระจายไปโดยรอบบริเวณผิวพื้น ซึ่งแนวหน้าของลมที่ไหลลงมานั้นจะเรียกว่า Gust Front อากาศเย็นที่ไหลลงมานี้จะทำให้อากาศที่อุ่นกว่าบริเวณผิวพื้นซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าไหลขึ้นไป แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็น เมฆ ที่มีลักษณะคล้ายชั้นวางสิ่งของที่ยื่นมาจากเมฆก่อนใหญ่ จึงเรียกอาร์คัสประเภทนี้ว่า Shelf Cloud นั่นเอง

Roll Cloud เป็นเมฆชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) และก่อตัวในแนวระนาบเช่นเดียวกัน มีลักษณะเหมือนทรงกระบอกขนาดใหญ่ อาจยาวได้หลายกิโลเมตร สิ่งที่แตกต่างจาก Shelf Cloud คือ Roll Cloud นั้นจะไม่อยู่ติดกับเมฆชนิดอื่น จะเคลื่อนตัวออกไปจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง(CB) เกิดจาก Gust Front ที่สามารถทำให้อากาศบริเวณผิวพื้นเกิดการหมุนวน โดยที่อากาศอุ่นบริเวณผิวพื้นด้านหน้าถูกทำให้ไหลขึ้นไปด้านบนจากอากาศเย็นที่ไหลลงมาด้านหลัง แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นเมฆก้อนใหม่ มีลักษณะม้วนตัวนั่นเอง แต่การม้วนตัวของเจ้าเมฆทรงกระบอกนี้ จะดูตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของมันเสมอ

อย่างไรก็ดี ต้องเรียนว่า เมฆอาร์คัส ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของ เมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่ง ปรากฏการณ์อาร์คัส ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *