ทำไมน้ำท่วมภาคเหนือ ของประเทศไทย ในปี 2567
ทำไมน้ำท่วมภาคเหนือ ของประเทศไทย ในปี 2567
สาเหตุน้ำท่วมภาคเหนือ หลายคนสงสัยใช่ไหมว่า ทำไมน้ำท่วมหนัก บริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย สาเหตุมาจากไหน และพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักมีที่ไหนบ้าง ในปี 2567
สาเหตุน้ำท่วมเหนือ “ลุ่มน้ำยม” วิกฤติสุด คาดอีก 2 วัน 24-25 สิงหาคม 2567 มวลน้ำไหลบ่าถึง จ.สุโขทัย เตรียมแผนผันน้ำ หวั่นจมบาดาล “ศูนย์อำนวยการน้ำ” กางแผนกรุงเทพฯ เฝ้าระวังน้ำเหนือ พร่องน้ำเขื่อนเจ้าพระยารอ แม้น้ำทะเลหนุน ย้ำชัด “กรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี” ปีนี้กระทบน้อย
ทำไมน้ำท่วมภาคเหนือ ของประเทศไทย ในปี 2567
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือ ภาพรวมวันนี้ (22 ส.ค. 67) มีปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ จ.พะเยา (237 มม.) ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเฉียบพลันใน จ.เชียงราย, จ.พะเยา, จ.น่าน ต้นเหตุมาจากสภาวะลานีญา ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง 24-30 ส.ค.นี้
หากมองสถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือที่มีผลต่อพื้นที่ตอนล่าง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ หรือไม่ “นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ” ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
กล่าวว่า จากการคาดการณ์เดือน ส.ค.- ก.ย. 67 มีฝนตกหนักทางภาคเหนือตอนบน ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงใน จ.เชียงราย จ.พะเยา จ.แพร่ จ.น่าน ซึ่งช่วง 2-3 วันนี้มีน้ำหลาก
สถานการณ์น้ำตามลุ่มน้ำทางภาคเหนือ สามารถสรุปได้ดังนี้
ลุ่มน้ำน่าน (วันที่ 22 ส.ค. 67) มีปริมาณน้ำหลาก ทำให้มีน้ำเพิ่มสูงใน อ.เมือง ไปจนถึง อ.เวียงสา จ.น่าน ตอนนี้มีน้ำท่วมเพิ่มสูง 1-2 เมตร คาดว่าอีกประมาณ 5 วัน มีปริมาณน้ำลดลง เข้าสู่สภาวะปกติ พื้นที่ดังกล่าวมีการแจ้งเตือนน้ำท่วมเฉียบพลันมาก่อนหน้าแล้ว มีการตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ จ.สุโขทัย
ลุ่มน้ำยม จากปริมาณฝนสะสม 2 วันที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่ต้นน้ำ จ.พะเยา และ จ.แพร่ ที่ขณะนี้มวลน้ำกำลังไหลผ่าน อ.สอง จ.แพร่ คาดการณ์ว่ามวลน้ำที่ไหลลงมาจากพื้นที่ตอนบน สูงสุด 1,700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมวลน้ำไหลสูงสุดไปเมื่อคืน (21 ส.ค. 67) ซึ่งมวลน้ำจะไหลลงไปยัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
ต้องจับตาว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ไหลมาถึง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย วันที่ 24-25 ส.ค. 67 มีปริมาณน้ำประมาณ 1,300 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งศักยภาพการระบายน้ำในพื้นที่ตอนล่างรองรับได้เพียง 800-900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จึงมีมวลน้ำที่เกินศักยภาพรองรับถึง 400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ส่งผลให้มีน้ำท่วมล้นตลิ่ง และท่วมในพื้นที่
ลุ่มต่ำ
เบื้องต้นมีการบริหารจัดการน้ำโดยผันน้ำออกจากพื้นที่ไปยังแม่น้ำน่าน และทุ่งบางระกำ ลดปริมาณน้ำหลากจากตอนบนที่หลากเข้าเมืองสุโขทัยให้น้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบใน อ.สวรรคโลก อ.เมือง และพื้นที่ตอนล่าง จ.สุโขทัย
ขณะนี้มีการผลักดันน้ำบางส่วนในพื้นที่ตอนเหนือ เพื่อให้รองรับมวลน้ำที่ไหลลงมา รวมทั้งลดการระบายน้ำจาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และเร่งระบายน้ำจากเขื่อนนเรศวร จ.พิษณุโลก เพื่อลดระดับน้ำในแม่น้ำน่าน ซึ่งมีการผลักดันน้ำจากแม่น้ำยมลงแม่น้ำน่าน
พื้นที่ได้รับผลกระทบหนัก :
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดพะเยา
จังหวัดน่าน
จังหวัดสุโขทัย
ปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุด:
จังหวัดพะเยา (237 มม.)
ผลกระทบจากน้ำท่วม :
น้ำป่าไหลหลาก
น้ำท่วมฉับพลัน
พื้นที่ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมขัง
เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข :
ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
กรมชลประทาน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย :
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :